หน่วยตรวจสอบภายใน

อำนาจหน้าที่หน่วยตรวจสอบภายใน

หน้าที่หน่วยตรวจสอบภายใน 

  • วัตถุประสงค์

หน่วยตรวจสอบภายในเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการต่อฝ่ายบริหารเพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อความมีประสิทธิภาพ

ประสิทธิผลของการดำเนินงานและความคุ้มค่าของการใช้จ่ายเงิน รวมทั้งความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูลทางการเงิน   ตลอดจนการ ปฏิบัติตามกฏระเบียบที่เกี่ยวข้อง 

  • สายการบังคับบัญชา          

        หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายในเป็นผู้บริหารสูงสุดของหน่วย และมีสายการบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อปลัดเทศบาลตำบลในเมือง

        การเสนอแผนการตรวจสอบประจำปีให้หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายในเสนอต่อนายกเทศมนตรีตำบลในเมืองอนุมัติให้ดำเนินการ หน่วยตรวจสอบภายในรายงานผลการตรวจสอบตรงต่อปลัดเทศบาล นายกเทศมนตรีตำบลในเมือง

  • อำนาจหน้าที่          

         หน่วยตรวจสอบภายในมีหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติงานทุกหน่วยงานภายในเทศบาลตำบลในเมืองและมีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลเอกสาร ทรัพย์สินเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบ   

         หน่วยตรวจสอบภายในไม่มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย วิธีปฏิบัติงาน  และระบบการควบคุมภายในหรือการแก้ไข  ระบบควบคุมภายใน ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง  ผู้ตรวจสอบภายในมีหน้าที่เป็นเพียงผู้ให้ คำปรึกษาแนะนำ ขอบเขตการตรวจสอบภายในจะครอบคลุมทั้งการตรวจสอบด้านการเงินและการบัญชีและการตรวจสอบการดำเนินการ รวมทั้งการสอบทานการประเมินผลการควบคุมภายใน 

         เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นอิสระ เป็นธรรม ซื่อสัตย์    สุจริต เชี่ยวชาญ และมีความระมัดระวัง  รอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบอาชีพ   มีมนุษย์สัมพันธ์   และทักษะในการติดต่อสื่อสาร   มีทัศนะคติที่ดีต่อเพื่อนร่วมงานและผู้รับตรวจ ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการ 

  • ความรับผิดชอบ      

           หน่วยตรวจสอบภายในต้องวางแผนการตรวจสอบและปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์    พร้อมทั้งให้รายงานผลการตรวจสอบ  โดยการให้ข้อมูลเชิงวิเคราะห์   ประเมินผล   ข้อเสนอแนะ   คำปรึกษาตามแนวทางที่มาตรฐานการตรวจสอบภายในกำหนด  ดังนี้ 

1. วางแผนกำหนดเป้าหมาย   ขอบเขตการตรวจสอบภายในครอบคลุมทุกด้าน  
เพื่อสนับสนุนการบริหารงานและการดำเนินงาน  ด้านต่างๆ   ของเทศบาลตำบลในเมือง

2. ตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านต่างๆ   ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

3. สอบทานและประเมินประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายใน  ทั้งทางการเงินการบัญชีและการปฏิบัติงาน

4. ประสานงานกับหน่วยรับตรวจ   เพื่อให้ผู้บริหารของหน่วยรับตรวจ   มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะ ในอันที่จะทำให้ผลการตรวจสอบมีประโยชน์สามารถนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

5.  ประสานงานกับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดผลงานที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อส่วนราชการ

6. รายงานผลการตรวจสอบเป็นลายลักษณ์อักษรตามข้อเท็จจริงที่ตรวจพบ พร้อมทั้งความเห็น   ข้อเสนอแนะ  เพื่อการแก้ไข ปรับปรุงที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ให้ปลัดเทศบาลทราบและพิจารณาสั่งการ

7.  ติดตามผลการปฏิบัติงานข้อเสนอแนะในรายงานผลการตรวจสอบและติดต่อประสานงานกับผู้รับตรวจ  เพื่อให้คำแนะนำ  ในการปรับปรุงให้ถูกต้อง

8. ปฏิบัติงานในการเป็นทึ่ปรึกษาให้ความเห็นและคำแนะนำต่อปลัดเทศบาล หัวหน้าหน่วยรับตรวจเพื่อให้เกิดการบริหารงาน อย่างมีคุณภาพ    และปรับปรุงการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง 

 

 
Share this Post: